“เตรียมตัวดี มีชัยไปกว่าครึ่ง”
ขอนำเทคนิคการเตรียมตัวในเบื้องต้น เพื่อการเตรียมตัวในการทำวิจัยจบให้สามารถจบทันเวลา หรือ ถ้าน้องๆ ฝึกฝนเทคนิคต่างๆ จนคล่องแคล่ว และชำนาญ น้องๆ จะใช้เวลาไม่นานในการทำงานวิจัยตลอดจนหากมีการแก้ไขงานวิจัย น้องๆ ก็สามารถผ่ายฉลุยแน่นอนค่ะ
1.น้องๆ ควรวิเคราะห์ถึงความถนัด
และความสนใจของตนเองเบื้องต้นก่อน ว่า น้องๆ สนใจเกี่ยวกับอะไร อยากทำอะไร ที่เกี่ยวข้องกับคณะ สาขาที่น้องๆ เรียน
2.เทคนิคข้อนี้ต่อมาจากข้อแรกค่ะ
คือปัญหาส่วนใหญ่ของน้องๆ บางท่านคือ อาจจะยังนึกไม่ออกถึงความสนใจ หรือไม่แน่ใจว่าจะถนัดในงานวิจัยเกี่ยวกับอะไร ตรงนี้เทคนิคที่พี่แอดมินอยากนำเสนอคือ การศึกษาดูงานวิจัยเก่าๆ ให้มากที่สุดที่เกี่ยวข้องกับคณะ สาขาที่น้องๆ เรียน ค่ะ ตรงนี้พี่แอดมินขอเน้นนะคะ มากถึงมากที่สุด เพราะในช่วงนี้ น้องๆ ยังมีเวลามากที่จะศึกษางานเก่าๆ ว่างานวิจัยแบบใด ตรงกับความสนใจ (โดยศึกษาช่วงระยะเวลาการทำวิจัยที่ไม่เกิน10 ปี ค่ะ)
3.เมื่อน้องๆ มีเรื่องที่สนใจ
หรือมีแนวทางถึงเรื่องวิจัยที่ถนัดแล้ว อาจจะต้องศึกษาถึงกระบวนการทำวิจัยในเล่มอ้างอิงในแต่ละเล่มนั้นๆ เบื้องต้นว่า งานวิจัยที่ผ่านมามีกระบวนการทำวิจัยอย่างไร มีการเก็บข้อมูลงานวิจัยอย่างไร มีการวิเคราะห์ผลข้อมูลงานวิจัยอย่างไรแล้ว น้อง ๆ ถนัดแบบใด
เพราะว่าในการทำหัวข้อวิจัยเสนออาจารย์ น้องๆ จะได้มีข้อมูลที่ลึก เพื่อสนับสนุนการทำหัวข้อวิจัยนั้น และแสดงให้ทางอาจารย์เห็นว่า ในหัวข้อที่เลือกทำวิจัยนั้น ๆ น้องๆ มีความถนัด สามารถทำได้ด้วยความมั่นใจเต็มร้อยค่ะ
4.ขั้นตอนตอไปนี้ เป็นส่วนน้องๆ ได้ศึกษามาจากข้อที่3 ค่ะ คือ
เมื่อน้องๆ รู้แล้วว่า น้องๆ ถนัดกับการทำวิจัยแบบใด ให้น้องๆศึกษาต่อยอด (เพื่อให้ช่วงการทำวิจัยจบ สามารถลงมือทำได้เลยโดยไม่ต้องมาศึกษาเพิ่มเติมค่ะ) เช่น น้องๆ ที่สนใจการทำวิจัยเชิงปริมาณ ในการทำวิจัยชนิดนี้ ต้องมีการทำแบบสอบถาม การวิเคราะห์ผลทางสถิติ การหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม การหาประชากร การคำนวณกลุ่มตัวอย่าง ฯลฯ ซึ่งตรงนี้พี่แอดมินอยากให้ น้องๆลองฝึกทักษะเบื้องต้น โดยอาจจะศึกษาเพิ่มเติมในหอสมุดของทางมหาวิทยาลัยหรือทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ค่ะ
5.ในส่วนนี้ก็สำคัญไม่แพ้กันค่ะ
โดยการศึกษาหรือสอบถามทางอาจารย์ หรือทางรุ่นพี่ในสาขาของน้องๆก็ได้ค่ะ เกี่ยวกับข้อมูลของอาจารย์ประจำสาขาของน้อง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยชั้นปีสุดท้ายที่จะจบ ว่าแต่ละท่านถนัดหรือแต่ละท่านมีความสนใจเกี่ยวกับเรื่องอะไรค่ะ
ทั้งนี้จากประสบการณ์ของพี่แอดมิน ในเรื่องความถนัด หรือความสนใจของท่านอาจารย์ที่ปรึกษา มีส่วนสำคัญต่อการพิจารณาหัวข้อหรือแม้การทำการ ตรวจงาน รวมถึงการให้ผ่านในแต่ละขั้นตอนค่ะ
6.ข้อสุดท้ายพี่แอดมินอยากฝากถึง
กรณีหากต้องมีการประชุมวิการด้วยในชั้นปีสุดท้าย พี่แอดมินอยากให้น้องๆ ศึกษารูปแบบการทำบทความวิชาการในการนำเสนอต่อการประชุมวิชาการด้วยนะคะ