จากความหมายของวิทยานิพนธ์ที่หมายถึง การศึกษาค้นคว้าหรือการวิจัยของนักศึกษาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะอยู่ในรูปของงานวิจัย มีอาจารย์ที่ปรึกษา กรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ และที่สำคัญเป็นงานวิจัยที่นิสิต นักศึกษาเลือกศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจและทำวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง
เกือบทุกกระบวนการ น้องๆจะเห็นได้ว่าจากความหมายเราจำเป็นที่จะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะมีความเกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มต้นจนจบหลักสูตร เพื่อให้คำปรึกษา คำชี้แนะ ให้งานวิจัยดำเนินการไปในทิศทางที่ถูกต้อง อาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์ถือว่ามีความสำคัญยิ่ง เป็นเสมือนไฟส่องทางหรือสื่อที่จะสามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้และคำตอบของประเด็นปัญหาที่นักศึกษาได้ทำการวิจัยค้นคว้า
การเลือกอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์ที่เหมาะสมจะช่วยให้กระบวนการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษามีความราบรื่นยิ่งขึ้น ทำให้ประสบความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ โดยทั่วไปแล้วการเลือกอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์แต่ละสถาบันมีหลักเกณฑ์ไม่เหมือนกัน แต่จะไม่แตกต่างกันมาก คุณลักษณะของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษา(Advisor) ที่เลือกต้องสอดคล้องกับเรื่องที่นักศึกษาสนใจ
เพราะในกระบวนการอนุมัติงานวิทยานิพนธ์และการทำวิทยานิพนธ์ อาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรือ “อาจารย์ที่ปรึกษา (Advisor)” จะมีสิทธิ์ตัดสินอนุมัติหรือไม่อนุมัติผลสอบวิทยานิพนธ์ นักศึกษาจึงจำเป็นที่ต้องมีการติดต่อสื่อสาร พูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง นอกจากนี้ก่อนการเลือก ควรเข้าพบ ทาบทามอาจารย์มาเป็นที่ปรึกษา ซึ่งบางครั้งอาจารย์อาจจะไม่รับเป็นที่ปรึกษาก็ได้ ด้วยเหตุผลที่ว่า
อาจารย์ท่านนั้นไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่นักศึกษาทำหรืออาจารย์รับเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ครบแล้วและอาจารย์ไม่มีเวลาในการให้คำปรึกษา การศึกษาลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ก่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ลักษณะสำคัญที่สุดของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์ คือ…
“รู้ขั้นตอนการทำวิทยานิพนธ์ มีเวลาให้นักศึกษา จริงใจต่อนักศึกษาและมีความรู้ความสามารถ รวมถึงด้านบุคลิกภาพ ล้วนแต่เป็นสิ่งสำคัญยิ่งขององค์ประกอบที่จะทำให้วิทยานิพนธ์มีคุณภาพและประสบความสำเร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ได้”