ความคิดเชิงปริมาณเป็นการอธิบายความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่ง หรือสังคมวิทยาในรูป ของความรู้ทางเคมี ระบบแสง ฟิสิกส์หรือแม้กระทั่งวัฒนธรรม ส่วนความคิดเชิงคุณภาพเป็นการอธิบายความรู้เกี่ยวกับสรรพสิ่ง หรือสังคมวิทยาในรูปของประสบการณ์หรือมีข้อสงสัยในทฤษฎี หรือไม่เชื่อในผลการทดลอง ดังนั้นความรู้และความจริงมิได้ศึกษาได้ด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ ยังสามารถค้นหาความรู้ด้วยข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือสามารถใช้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพร่วมกันได้
ในปัจจุบันได้มีการใช้การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อแสวงหาความรู้แล้วอธิบายให้อยู่ในรูปการวิธีการวิจัยหรือเป็นการยืนยันทฤษฎี อีกกรณีหนึ่งเป็นการใช้การวิจัยเชิงคุณภาพค้นหาความรู้ใหม่แล้วพัฒนาเป็นทฤษฎีใช้ได้เป็นการทั่วไป โดยการทำงานในชีวิตประจำวันมีการพูดถึงการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) และยังมีการกล่าวถึงการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการพัฒนาประเทศให้เจริญ ซึ่งตัวบ่งชี้คือ จำนวนผลงานวิจัยและคุณภาพงานวิจัย
เพราะการวิจัยและพัฒนาเป็นการศึกษา ค้นคว้าอย่างเป็นระบบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มุ่งพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี สิ่งประดิษฐ์ สื่อ อุปกรณ์เครื่องใช้ เทคนิควิธีการ รูปแบบการทำงาน ระบบการบริหารจัดการ ฯลฯ
ดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ความเป็นวิทยาศาสตร์ดูได้จากการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอนได้แก่ การนิยามปัญหา (problem) การตั้งสมมติฐาน (hypothesis) การเก็บรวบรวมข้อมูล (data collection) การวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) และการสรุปผล (conclution) ทีนี้มาลองดูว่าการวิจัยมีขั้นตอนเหมือนวิทยาศาสตร์กล่าวคือ
มีการกำหนดปัญหา (problem identification) การตั้งสมมติฐาน (formulation hypothesis) การเก็บรวบรวมข้อมูล (data collection) การวิเคราะห์ข้อมูล (data analysis) และการสรุปผล (conclution) ซึ่งการวิจัยไม่ว่าจะเป็นประเภทปริมาณ คุณภาพ หรือผสานวิธีต้องดำเนินการตามกระบวนการดังกล่าว จึงถือได้ว่าเป็นวิทยาศาสตร์